ร่าย เป็นคำประพันธ์ที่ปรากฎหลักฐานในวรรณคดีไทยมานาน มีวิวัฒนาการมาจาก
คำคล้องจองที่คนไทยพูดกัน ลักษณะการแต่งก็ง่าย คือบทหนึ่งสามารถแต่งให้ยาวเท่าไรก็
ได้ แม้ว่าจะมีกำหนดคณะและสัมผัสอยู่บ้างแต่ก็ไม่เคร่งครัด ร่ายมี ๔ ประเภท ดังนี้
ร่ายยาว
แผนผัง คำประพันธ์ประเภทร่ายยาว
ตัวอย่าง
"พ่อชาลีศรีสุริยวงศ์เยาวเรศ เจ้าก็เกิดในมกุฏเกศกรุงสีวีราษฎร์
ไยพ่อไม่องอาจย่อมย่อท้อทิ้งพระบิดา ให้พราหมณ์มันจ้วงจาบหยาบช้า
เจ้าเห็นชอบอยู่แล้วหนาพ่อสายใจ..."
(ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์กุมาร, เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
ฉันทลักษณ์
๑. คณะ - ๑ บท มี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคละ ๕ คำขึ้นไป
๒. สัมผัส - คำสุดท้ายวรรคหน้าสัมผัสกับคำใดก็ได้ของวรรคถัดไป ยกเว้นสองคำ
ท้ายวรรค
ร่ายโบราณ
แผนผัง คำประพันธ์ประเภทร่ายโบราณ
ตัวอย่าง
"แผนประพันธ์หนึ่งง่าย เรียกว่าร่ายโบราณ ประมาณวรรคละห้าคำ
ไม่จำกัดมากน้อย เติมสร้อยได้ท้ายบท งดคำตายท้ายสุด
สัมผัสยุดตามแผน แต่งง่ายแสนสะดวกดาย บารนี"
(กำชัย ทองหล่อ)
ฉันทลักษณ์
๑. คณะ - ๑ บท มี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคละ ๕ คำ อาจมีหรือไม่มีคำสร้อย ๒ คำที่
ท้ายบท
๒. สัมผัส - คำสุดท้ายวรรคหน้าสัมผัสกับใดก็ได้ของกรรคถัดไป ยกเว้นสองคำ
ท้ายวรรค
ร่ายสุภาพ
แผนผัง คำประพันธ์ประเภทร่ายสุภาพ ๑ บท
ตัวอย่าง
"ข้าไหว้ถวายชีพิด เผือข้าชิดข้าเชื่อ เชื่อดังฤาเหตุใด
ธมิไว้ใจเท่าเผ้า สองแม่ณหัวเจ้า มิได้เอ็นดู เผือฤา"
(ลิลิตพระลอ)
ฉันทลักษณ์
๑. คณะ - ๑ บท มี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคละ ๕ คำ แต่ ๓ วรรคก่อนจบบทจะเป็น
โคลงสองสุภาพ อาจมีหรือไม่มีคำสร้อย ๒ คำที่ท้ายบท
๒. สัมผัส - คำสุดท้ายวรรคหน้าสัมผัสกับคำแรก คำที่สองหรือคำที่สามของวรรค
ถัดไป, สามวรรคสุดท้ายมีสัมผัสแบบโคลงสองสุภาพ
ร่ายดั้น ใช้ฉันทลักษณ์เช่นเดียวกับร่ายสุภาพ แต่จำนวนคำแต่ละวรรค มี ๓ - ๘
คำ และจบด้วยบาทที่ ๓ และบาทที่ ๔ ของโคลงสี่ดั้น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น