ฉันทลักษณ์ หมายถึง ลักษณะแบบแผนของคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง (ราช บัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๒) แบบแผนหรือข้อบังคับดังกล่าวมือยู่ ๒ กลุ่ม คือ ลักษณะบังคับที่ พบในคำประพันธ์ทุกประเภท เรียกว่า ลักษณะแบบแผนทั่วไป กับลักษณะที่พบในคำประพันธ์บางประเภท เรียกว่า ลักษณะเฉพาะของคำประพันธ์แต่ละประเภท
ลักษณะแบบแผนทั่วไป (พระยาอุปกิตศิลปสาร, ๒๕๓๙) มีดังนี้
๑. คณะ คือ การจัดหมวดหมู่มีส่วนใหญ่และส่วนย่อยตามลำดับ ๑.๑ บท คือ คำประพันธ์ตอนหนึ่งๆ มีมากน้อยแล้วแต่ประเภทของคำประพันธ์
๑.๒ บาท คือ ส่วนย่อยของบท คำประพันธ์บทหนึ่งจะมีตั้งแต่ ๑ บาทถึง ๔ บาท
๑.๓ วรรค คือ ส่วนย่อยของบาท บาทจะมี วรรค หรือมากกว่านี้
๑.๔ คำ หรือ พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ เป็นส่วนย่อยของวรรค
ตัวอย่าง คำ คณะของกลอนสุภาพ คือ บท มี ๒ บาท, ๑ บาท มี ๒ วรรค, ๑ วรรค มี ๗-๙ คำ
ดังแผนผัง
ลักษณะบังคับ คำ หรือ พยางค์ มีรายละเอียด (วราภรณ์ บำรุงกุล, ๒๕๕๒) ดังนี้
คำ คือเสียงที่เปล่งออกมาแล้วมีความหมายในตัว เรียกว่า คำความหมาย การนับคำ ประเภทนี้จะยืดความหมายเป็นหลัก เช่น ดี สมุทร สกปรก นับเป็น ๑ คำทั้งสิ้น
พยางค์ คือเสียงที่เปล่งออกมา ๑ ครั้ง เรียกว่า คำพยางค์ การนับคำประเภทนี้จะยึด
เสียงที่เปล่งออกมาเป็นหลัก เช่น สุข นับ ๑ พยางค์, ไฉน นับ ๒ พยางค์, สวัสดี นับ ๓ พยางค์
การนับคำในคำประพันธ์ขึ้นอยู่กับบริบทเป็นหลัก เช่น คำว่า "สยาม" ในโคลงสี่สุภาพว่า
"หากสยามยังอยู่ยั้ง ยืนยง" นับเป็น ๑ คำความหมาย เพราะวรรคหน้านี้ต้องการ ๕ คำ แต่ใน
สยามมณีฉันท์ว่า "ชโยสยาม ณ ยามจะรุ่น" นับเป็น ๒ คำพยางค์ เพราะวรรคนี้ต้องการ ๘ คำ
การกำหนดคณะของคำประพันธ์แต่ละประเภทก็แตกต่างกันไป ดังจะอธิบายรวมใน
ลักษณะเฉพาะของคำประพันธ์แต่ละประเภท ในหัวข้อถัดไป.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น