วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ลักษณะเฉพาะของคำประพันธ์แต่ละประเภท (๖) (กลอนดอกสร้อย)

 ๒.๓ กลอนดอกสร้อย

แผนผัง คำประพันธ์ประเภทกลอนดอกสร้อย จำนวน ๑ บท



ตัวอย่าง คำประพันธ์ประเภทกลอนดอกสร้อย จำนวน ๑ บท

              "ดอกเอ๋ยดอกสร้อย                บรรจงร้อยเรียงวรรคตามอักษร

     บทหนึ่งนั้นท่านมีสี่คำกลอน              ทุกวรรคตอนต้องสัมผัสจัดเร็วไว

     วรรคแรกเริ่มเดิมเอ๋ยตามบัญญัติ        วรรคอื่นจัดหกเจ็ดแปดคำใส่

     จักสำเร็จเสร็จถ้วนกระบวนไป            วรรคจบอย่าลืมใช้คำว่าเอย"

                                                                 (ขัณธ์ชัย  อธิเกียรติ)

ฉันทลักษณ์

๑. คณะ - ๑ บท มี ๘ วรรค หรือ ๔ บาท หรือ ๔ คำกลอนเป็นอย่างน้อย, ๑ บาท

     มี ๒ วรรค วรรคแรกมี ๔ คำ วรรคต่อไปวรรคละ ๔ - ๖ คำ

๒. สัมผัส - ขึ้นอยู่กับจำนวนคำในแต่ละวรรค เช่น หากวรรคหนึ่งมีแปดคำตาม

แผนผัง สัมผัสบังคับคือ คำสุดท้ายของวรรคแรก สัมผัสกับคำที่หนึ่ง สอง สาม สี่

หรือคำที่ห้าของวรรคที่ ๒, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำที่หนึ่ง สอง สาม สี่หรือคำที่ห้าของวรรคที่ ๔ เป็นต้น

สัมผัสระหว่างบาท - คำสุดท้ายของบาทที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของบาทที่ ๓

๓.วรรคแรกมีคำที่ ๑ และ ๓ เป็นคำตั้งคำเดียวกัน คำที่ ๒ เป็นคำว่า เอย, คำสุดท้ายของบท

    จะใช้คำธรรมดาหรือลงท้ายด้วยคำว่า "เอย"

*หมายเหตุ - ในบทละคร อาจใช้คำว่า "เอย" แทนคำว่า "เอ๋ย" เช่น "รถเอยรถวิมาน" เป็นต้น

หรือบางครั้งตัดคำสองคำแรกในวรรคแรก เช่น "ดวงเอ๋ยดวงตา" เหลือเพียง "ดวงตา" เป็นต้น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น