กลอนนิราศ
แผนผัง คำประพันธ์ประเภทกลอนนิราศ จำนวน ๑ บท
ตัวอย่าง คำประพันธ์ประเภทกลอนนิราศ จำนวน ๒ บท บทแรกเป็นบทขึ้นต้นนิราศ
"โอ้สังเวชวาสนานิจจาเอ๋ย
จะมีคู่มิได้อยู่ประคองเชย ต้องละเลยดวงใจไว้ไกลตา
จะพลัดพรากจากกันไม่ทันลา ใช้แต่ตาต่างถ้อยสุนทรวอน"
(นิราศเมืองแกลง, สุนทรณภู่)
ฉันทลักษณ์
๑. คณะ - ๑ บท มี ๔ วรรค หรือ ๒ บาท หรือ ๒ คำกลอน, ๑ บาท มี ๒ วรรค
วรรคละ ๗ - ๙ คำ
๒. สัมผัส - ขึ้นอยู่กับจำนวนคำในแต่ละวรรค เช่น หากวรรคหนึ่งมีแปดคำตาม
แผนผัง สัมผัสบังคับคือ คำสุดท้ายของวรรคแรก สัมผัสกับคำที่สาม หรือคำที่ห้าของวรรคที่ ๒,
คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
สัมผัสกับคำที่สามหรือคำที่ห้าของวรรคที่ ๔ เป็นต้น
สัมผัสระหว่างบท - คำสุดท้ายของบทต้นสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สองของบทถัดไป
*หมายเหตุ
๑. วรรคแรกมักขึ้นต้นด้วยคำว่า "นิราศ" และลงท้ายเรื่องด้วยคำว่า "เอย"
๒. บทแรกของนิราศมักขึ้นต้นด้วยวรรครับ
กลอนเพลงยาว ใช้ฉันทลักษณ์เช่นเดียวกับกลอนนิราศ แต่มีเนื้อหาต่างกัน
คือกลอนเพลงยาวเป็นสารรัก คร่ำครวญ ตัดพ้อ พรรณนาถึงความรักหรือความทุกข์ แต่ละ
บทไม่ยาวนัก ส่วนกลอนนิราศเป็นการพรรณนาถึงคนรักที่ต้องจากกันไกล จึงมักคร่ำครวญ
ยาวนาน โดยใช้ชื่อสถานที่หรือธรรมชาติตามเส้นทางหรือกาลเวลามาประกอบการพรรณนานั้นด้วย
กลอนนิทานหรือกลอนนิยาย ใช้ฉันทลักษณ์เช่นเดียวกับกลอนนิราศ แต่มีเนื้อหาแตกต่างกัน คือ กลอนนิทานเป็นการเล่านิทานด้วยคำกลอน
กลอนเพลงปฏิพากย์ เป็นกลอนที่ใช้ร้องโต้ตอบกัน ถือเป็นเพลงพื้นบ้าน.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น