วันพุธที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ลักษณะเฉพาะของคำประพันธ์แต่ละประเภท (๓) (กลอน)

 ๒. กลอน

         ในสมัยโบราณคำว่า กลอน ใช้เรียกคำประพันธ์ทุกประเภท ต่อมา ใช้เรียกเป็นคำ

ประพันธ์ประเภทหนึ่ง แต่ก็ยังคงเรียกคำประพันธ์ในความหมายรวมๆ ว่า กลอน

          กลอน เป็นคำประพันธ์ที่นอกจากกำหนดคณะและสัมผัสแล้ว ยังกำหนดเสียง

วรรณยุกต์ ท้ายวรรคด้วย ดังนี้


๑) คำสุดท้ายของวรรคแรกเรียก วรรคสลับ หรือ วรรคสดับ ไม่นิยมใช้เสียงสามัญ

๒) คำสุดท้ายของวรรคที่สองเรียก วรรครับ นิยมใช้เสียงจัตวา ห้ามใช้เสียงสามัญ

     และเสียงตรี

๓) คำสุดท้ายของวรรคที่สามเรียก วรรครอง นิยมใช้เสียงสามัญ ห้ามใช้เสียงจัตวา

๔) คำสุดท้ายของวรรคที่สีเรียก วรรคส่ง นิยมใช้เสียงสามัญ ห้ามใช้เสียงจัตวา


กลอน มีหลายประเภท ดังนี้

๒.๑ กลอนสุภาพ

กลอนสุภาพ แต่เดิมเรียก กลอนตลาด มีหลายประเภท ดังนี้

๒.๑.๑ กลอนหก

แผนผัง คำประพันธ์ประเภทกลอนหก จำนวน ๑ บท

ตัวอย่าง บทประพันธ์ประเภทกลอนหก จำนวน ๑ บท

               "กลอนหกบทหนึ่งพึงคิด      ประดิษฐ์สิ่วรรคจัดสรร

        วรรคหนึ่งพึงจำสำคัญ                 รำพันเพียงหกคำพอ"

                                                           (ขัณธ์ชัย อธิเกียรติ)

ฉันทลักษณ์

๑. คณะ - ๑ บท มี ๔ วรรค หรือ ๒ บาท หรือ ๒ คำกลอน, ๑ บาทมี ๒ วรรค วรรคละ ๖ คำ

๒. สัมผัส - คำสุดท้ายของวรรคแรก สัมผัสกับคำที่สองหรือคำที่สี่ของวรรดที่ ๒, คำ

สุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำที่สองหรือคำที่สี่ของวรรคที่ ๔

สัมผัสระหว่างบท - คำสุดท้ายของบทต้นสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของบทถัดไป.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น