วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ลักษณะเฉพาะของคำประพันธ์แต่ละประเภท (๑)

 ลักษณะเฉพาะของคำประพันธ์แต่ละประเภท (อุปกิตศิลปสาร, ๒๕๓๙ และกาชัย ทองหล่อ, ๒๕๓๗) มีดังนี้

๑) กาพย์

กาพย์ เป็นคำประพันธ์ที่กำหนดเพียงคณะและสัมผัส กาพย์ที่นิยมแต่งในปัจจุบัน

ได้แก่ กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ ถ้าใช้กาพย์หลายชนิดแต่งคละกัน

เรียกว่า คำกาพย์

นอกจากนี้ กาพย์ยังอาจเรียกชื่อตามการนำไปใช้ เช่น กาพย์เห่เรือ กาพย์ขับไม้ เป็นต้น

๑.๑ กาพย์ยานี ๑๑ (กาพย์ยานีลำนำ, กาพย์ ๑๑)

แผนผัง คำประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี จำนวน ๑ บท


ตัวอย่าง บทประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี จำนวน ๑ บท

                 "เริ่มแต่งกาพย์ยานี           อ่านวิธีแล้วท่องจำ

วรรคหน้ามีห้าคำ                               วรรคหลังหกยกดามไป

                  สองวรรคหนึ่งบาทพร้ำ     สิบเอ็ดคำจำขึ้นใจ

สองบาทจึงจะได้                               ครบหนึ่งบทจดจำดี"

                                                       (ขัณธ์ชัย อธิเกียรติ)


ฉันทลักษณ์

๑. คณะ - ๑ บท มี ๔ วรรค หรือมี ๒ บาท, ๑ บาท มี ๒ วรรค คือ วรรคหน้ามี ๕ คำ และวรรคหลังมี ๖ คำ (รวม ๑ บาท มี ๑๑ คำ)

๒. สัมผัส - คำสุดท้ายวรรคแรกสัมผัสกับคำที่สามของวรรคที่ ๒, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓


         บางตำรากล่าวว่า คำสุดท้ายวรรคแรกสัมผัสกับคำที่หนึ่ง หรือสอง หรือสาม ของ

วรรคที่ ๒, คำสุดท้ายของวรรคที่๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ และอาจมีสัมผัส

จากคำสุดท้ายวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำที่หนึ่ง หรือสอง หรือสาม ของวรรคที่ ๔ เพิ่มขึ้นก็ได้

สัมผัสระหว่างบท - คำสุดท้ายของบทต้นสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่ ๒ ของบทถัดไป.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น