วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ประเภทของคำประพันธ์

ประเภทของคำประพันธ์ 

         ในสมัยก่อนมีชื่อเรียกคำประพันธ์หลายชื่อ เช่น กาพย์ กลอน กลอนฉันท์ คำกานท์ คำประดับ กวีนิพนธ์ กวีวัจนะ ฯลฯ คำเหล่านี้มีความหมายกว้างคือหมายถึง คำประพันธ์ทุกประเภท ต่อมา ความหมายของคำเปลี่ยนไปโดยบางคำก็หมายถึงคำประพันธ์ ประเภทหนึ่งๆ ทีมีแบบแผนบังคับต่างจากประเภทอื่น

         นักภาษาศาสตร์ได้แบ่งคำประพันธ์ไทยตามความแตกต่างของลักษณะคำประพันธ์ ดังนี้ แบ่งเป็น ประเภท (อุปกิตศิลปสาร, ๒๕๓๙) คือ

         ๑. ร่าย ๒.โคลง ๓. กาพย์ ๔. ฉันท์ ๕. กลอน ๖. เพลงต่างๆ แบ่งเป็น ๗ ประเภท (กำชัย ทองหล่อ,๒๕๓๗) คือ

         ๑. โคลง ๒. ร่าย ๓. ลิลิต ๔. กลอน ๕. กาพย์ ๖. ฉันท์ ๗. กล แบ่งเป็น ๕ ประเภท (ประทีป วาทิกทินกร, ๒๕๕๕) คือ

         ๑. กาพย์ ๒. กลอน ๓.โคลง ๔. ฉันท์ ๕. ร่าย

         ในที่นี้ จะแบ่งประเภทของคำประพันธ์ตามฉันหลักษณ์เป็น ๕ ประเภท โดยจะจัด คำประพันธ์ที่มีพื้นฐานอยู่นอกหลักเกณฑ์จากคำประพันธ์ ประเภทดังกล่าวนี้ รวมไว้ใน คำประพันธ์อื่นๆ ดังนั้น จะได้ประเภทของคำประพันธ์ดังนี้

          ๑. กาพย์ ๒. กลอน ๓.โคลง ๔.ฉันท์ ๕. ร่าย ๖. คำประพันธ์อื่น ๆ


          ส่วนการเรียงลำดับก่อนหลังนั้น การอธิบายคำประพันธ์แต่ละประเภทในเนื้อหา บทเรียนนี้จะเรียงสำคับประเภทของคำประพันธ์ตามที่ระบุใน "สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ภาษาไทย ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๔๕) ดังนี้

           ช่วงชั้นที่ ๑ (ป.๑ - ป.๓) "สามารถเลือกใช้คำคล้องจองแต่งบทร้อยกรองง่าย ๆ"

           ช่วงชั้นที่ ๒ (ป.๔ - ป.๖) "สามารถแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์และกลอน"

           ช่วงชั้นที่ ๓ (ม.๑ - ม.๓) "สามารถแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ กลอน และโคลง"

           ช่วงชั้นที่ ๔ (ม.๔ - ม.๖) "สามารถแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ และร่าย"

           การกำหนดให้ศึกษาคำประพันธ์ดังกล่าวนี้ได้เรียงลำดับตามความคุ้นเคยของเด็กไทย คือ กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ และร่าย นั่นเอง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น