วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ลักษณะเฉพาะของคำประพันธ์แต่ละประเภท (๒)

๑.๒ กาพย์ฉบัง ๑๖ (กาพย์ฉบำ)

แผนผัง คำประพันธ์ประเภทกาพย์ฉบัง ๑๖ จำนวน ๑ บท

กาพย์ฉบัง ๑๖

ด้วอย่าง
บทประพันธ์ประเภทกาพย์ฉบัง จำนวน ๒ บท

              "กาพย์หนึ่งพึงดูจำนวน           สามวรรคชี้ชวน

วรรคต้นวรรคท้ายหกคำ

               วรรคกลางมีสี่ชี้นำ                 ครบสิบหกจำ

หนึ่งบทฉบังบอกไป"

                                                    (ขัณธ์ชัย อธิเกียรติ)

ฉันทลักษณ์

๑. คณะ - บท มี ๓ วรรค วรรคแรกและวรรคที่ ๓ มีวรรคละ ๖ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ (รวม ๑ บท มี ๑๖ คำ)

๒. สัมผัส - คำสุดท้ายวรรคแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒

สัมผัสระหว่างบท - คำสุดท้ายของบทต้น สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคแรกของบทถัดไป


๑.๓ กาพย์สุรางคนางค์ ๒๕ (กาพย์สุรางคนา)

แผนผัง คำประพันธ์ประเภทกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ จำนวน ๑ บท

กาพย์สุรางคนางค์ ๒๕

ตัวอย่าง บทประพันธ์ประเภทกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ จำนวน ๒ บท

                               "สุรางคนางค์

เจ็ดวรรคจัดวาง          ให้ถูกวิธี

วรรคหนึ่งสี่คำ             จงจำให้ดี

บทหนึ่งจึงมี               ยี่สิบแปดคำ

                                หากแต่งต่อไป

สัมผัสตรงไหน           จำให้แม่นยำ

คำท้ายวรรคสาม        ติดตามประจำ

สัทผัสกับคำ              ท้ายบทต้นแล"

                       (ฐะปะนีย์ นาครทรรพ)

ฉันทลักษณ์

๑. คณะ - ๑ บท มี ๗ วรรค วรรคละ ๗ คำ (รวม ๑ บท มี ๒๘ คำ)

๒. สัมผัส - คำสุดท้ายของวรรคแรก สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๕ และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๖, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ สัมผัสกับคำที่สองของวรรตที่ ๕

สัมผัสระหว่างบท - คำสุดท้ายของบทต้นสัมผัสกับกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ ของบทถัดไป


หมายเหตุ - รูปแบบการเขียนกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ อาจเขียนบทหนึ่งเป็นสองบรรทัด คือ

บรรทัดแรกมี ๓ วรรคและบรรทัดที่ ๒ มี ๔ วรรค ก็ได้

- วรรณคดีในอดีตอาจพบว่า กวีมักแต่งวรรคที่ ๔ กับวรรตที่ ๕ ไม่มีการสัมผัสกัน


๑.๔ กาพย์สุรางคนางค์ ใช้ฉันทลักษณ์เช่นเดียวกับกาพย์สุรางคนางค์ ๒๕

แต่เพิ่มวรรคหน้าอีก ๑ วรรค โดยให้คำสุดท้ายของวรรคที่เพิ่มใหม่นี้สัมผัสกับคำที่สองของ

วรรคถัดมา.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น