วันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

โคลง

โคลง เป็นคำประพันธ์ที่นอกจากกำหนดคณะและสัมผัสแล้ว ยังกำหนดคำเอกคำโท

และอาจมีคำสร้อยด้วย ดังนี้

         คำเอก คือ คำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก เช่น พ่อ แม่ เก่า ใหม่ เป็นต้น หรือเป็น คำตาย เช่น จะ ดู เถอะ ซิ เป็นต้น

         คำโท คือ คำที่มีรูปวรรณยุกต์โท เช่น น้อง ช้าง ต้อง เลี้ยว เป็นต้น

         โคลงบางบทอาจมีคำในตำแหน่งบังคับของคำเอกคำโท เรียกว่า คำเอกโทษหรือคำ

โทโทษ ดังนี้


         คำเอกโทษ คือ คำที่เปลี่ยนให้เป็นรูปวรรณยุกต์เอก เพื่อใช้แทนคำเอก เช่น เค่า(เข้า) ญ่า(หญ้า) เป็นต้น

          คำโทโทษ คือ คำที่เปลี่ยนให้เป็นรูปวรรณยุกต์โท เพื่อใช้แทนคำโท เช่น ฉัวย (ช่วย) หง้าย (ง่าย) เป็นต้น

          คำสร้อย คือ คำที่ใช้สำหรับลงท้ายบาทของคำประพันธ์ เพื่อเติมคำหรือความให้ครบความหมาย ครบจำนวน หรือให้ไพเราะขึ้น คำสร้อยบางบทอาจมีสองคำ คำแรกเรียกว่า คำต้น จะเป็นคำที่มีความหมาย และอีกคำหนึ่งเรียกว่า คำท้าย จะไม่มีความหมาย เช่น จริงแฮ เถิดรา บารนี ควรถา นาแม่ เป็นต้น


          โคลงแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท ได้แก่ โคลงโบราณ โคลงดั้น และโคลงสุภาพ แต่ละประเภทก็แบ่งชนิดย่อยเป็นหลายชนิด แม้ว่าโคลงทั้งสามประเภทจะมีคณะเหมือนกัน แต่ก็มีลักษณะที่ต่างกัน คือ โคลงโบราณ ไม่บังคับคำเอกคำโท แต่บังคับสัมผัส ส่วนโคลงดั้นจะบังคับคำเอกคำโทและสัมผัส โคลงทั้งสองประเภทนี้ต่างจากโคลงสุภาพตรงที่วรรคสุดท้ายของโคลงชนิดย่อยหลายชนิดจะมี ๒ คำ แต่วรรคสุดท้ายของโคลงสุภาพแต่ละชนิดจะมี ๔ คำ.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น