สัมผัส คือ การคล้องจองแห่งคำประพันธ์ แบ่งเป็นประเภทดังนี้
ก. แบ่งตามตัวอักษร
๑) สัมผัสสระ คือ พยางค์ที่ประสมสระเดียวกัน และถ้ามีตัวสะกดก็อยู่ใน
มาตราเดียวกัน ทั้งนี้ เสียงพยัญชนะจะต่างกัน เช่น - ดี, ลักษณ์ - ศักดิ์, กานท์ - ชาญ
เป็นต้น
หรือเสียงพยัญชนะดันเสียงเดียวกัน แต่เสียงวรรณยุกต์กับเสียงตัวสะกด
จะต้องต่างกัน เช่น ล่า - ล้า , เชียว - เคี้ยว, ศร - ช้อน เป็นต้น (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๔๘)
๒) สัมผัสพยัญชนะ (แต่เดิมเรียกว่า สัมผัสอักษร) คือ พยางค์ที่ใช้พยัญชนะ
ต้นเสียงเดียวกัน เช่น รื่น - โรย, ฉัน - ช่อ - ชื่น, ทราบ - เศร้า - ศร - ซา เป็นดัน
ข. แบ่งตามตำแหน่ง
๑) สัมผัสนอก คือ สัมผัสสระที่อยู่ภายนอกวรรค ถือเป็นสัมผัสบังคับ
ตัวอย่าง
แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี่ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
มนุษย์นี้ที่รักอยู่สองสถาน บิดามารดารักมักเป็นผล
ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน เกิดเป็นคนคิดเห็นจึงเจรจา
(พระอภัยมณี : สุนทรภู่)
๒)สัมผัสใน คือ สัมผัสสระหรือสัมผัสพยัญชนะที่อยู่ภายในวรรคเดียวกัน
เป็นสัมผัสไม่บังคับ แต่นิยมให้มีสัมผัสเพราะทำให้เกิดคำคล้องจองไพเราะรื่นหูยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง
แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา
รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี
(พระอภัยมณี : สุนทรภู่)
สัมผัสสระในวรรค คือ รัก-รัก, ชัง-ชัง, รอบ-คอบ, อ่าน-หลาน, ไร-ไม่, สู้-รู้, รอด-ยอด
แบ่งเป็น ๒ ประเภท ดังนี้
สัมผัสชิด คือ สัมผัสที่อยู่ชิดกัน เช่น
สัมผัสสระ
- ขึ้นกกตกทุกข์ยาก แสนลำบากจากเวียงไชย
สัมผัสพยัญชนะ
จงติดตามไปเอาไม้เท้าเถิด จะประเสริฐสมรักเป็นศักดิ์ศรี
พอเสร็จคำสำแดงแจ้งคดี รูปโยคีหายวับไปกับตา
(พระอภัยมณี : สุนทรภู่)
สัมผัสพยัญชนะในวรรค คือ ติด-ตาม, เท้า-เถิด, เสริฐ-สำ, แดง-ดี
สัมผัสคั่น คือ สัมผัสที่ไม่อยู่ชิดกัน มีคำอื่นมาคั่นอยู่ตรงกลาง เช่น
สัมผัสสระ - ธงชาติไทยไกวกวัดสะบัดพริ้ว
สัมผัสพยัญชนะ - ปางพี่มุ่งมาดสมานสุมาลย์สมร
หมายเหตุ สัมผัสสระที่เป็นสัมผัสใน อาจใช้เสียงสระสันยาวคู่กัน เช่น
ใจ-กาย (ไอ-อาย), ธรรม -งาม (อัม อาม) เป็นต้น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น