วันอาทิตย์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ฉันท์

ฉันท์ 

           เป็นคำประพันธ์ที่ไทยรับมาจากวรรณคดีบาลี ภาษาบาลีเป็นภาษาที่มีการใช้

เสียงหนักเบาซึ่งเรียกว่าเสียงครุลหุ การนำรูปแบบฉันท์จากตำราฉันท์ของอินเดียนั้นไม่มี

บังคับสัมผัส เราจึงได้เติมสัมผัสบังคับเข้าไปเพื่อให้ไพเราะตามรสนิยมของคนไทย ดังนั้น

ฉันท์จึงกำหนดคณะ สัมผัส และคำครุคำลหุด้วย ดังนี้


            คำครุ   ั  ) คำที่มีเสียงหนัก ได้แก่ คำที่มีตัวสะกด คำที่ประกอบด้วย

สระเสียงยาวในแม่ ก กา และคำที่ประสมสระอำ ไอ เอา ได้แก่ ตา ดำ หัด เรียน เป็นต้น

            คำลหุ  ุ  ) คำทีมีเสียงเบา ได้แก่ คำที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นในแม่กา เช่น จะ ดู เถอะ ซิ โต๊ะ เป็นดัน บางบทอาจใช้คำ หรือคำที่ประสมด้วยสระ อำ เป็นคำลหุ


            การนำฉันท์มาแต่งนั้น กวีไทยไม่ได้นำฉันท์ในคัมภัร์ของอินเดียมาใช้ทั้งหมด เมื่อ

นำมาใช้บางครั้งก็ไม่เคร่งครัดครุลทุและยังมีส่วนที่คิดประดิษฐ์ขึ้นใหม่อีกด้วย ในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะฉันท์ที่นิยมใช้ในบทประพันธ์ไทย ดังนี้


วิชชุมมาลาฉันท์ ๘

แผนผัง คำประพันธ์ประเภทวิชชุมมาลาฉันท์ จำนวน ๑ บท



ตัวอย่าง บทประพันธ์ประเภทวิชชุมมาลาฉันท์ ๘ จำนวน ๑ บท

                       "แรมทางกลางเดือน       ห่างเพื่อนหาผู้

                  หนึ่งใดนึกดู                         เห็นใครไป่มี

                  หลายวันถั่นล่วง                    เมืองหลวงธานี

                  นามเวสาลี                           ดุ่มเดาเข้าไป"

                                                        (สามัคคีเภทคำฉันท์, ชิต บุรทัต)


ฉันทลักษณ์

๑. คณะ - ๑ บท มี ๘ วรรค หรือ ๔ บาท, ๑ บาทมี ๒ วรรค วรรรละ ๔ คำ (รวม ๑

บาท มี ๘ คำ)

๒. สัมผัส - คำสุดท้ายวรรคแรกสัมผัสกับคำที่สองของวรรคที่ ๒, คำสุดท้ายของ

วรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔  สัมผัสกับคำสุดท้าย

ของวรรคที่ ๖ และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๗ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๕ สัมผัสกับคำที่สองของวรรคที่ ๖

๓. สัมผัสระหว่างบท - คำสุดท้ายของบทต้นสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ของ

บทถัดไป

๔. ทุกวรรคใช้คำครุล้วน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น