วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

กลอนบทละคร

กลอนบทละคร

แผนผัง คำประพันธ์ประเภทกลอนบทละคร จำนวน ๑ บท



ตัวอย่าง คำประพันธ์ประเภทกลอนบทละคร จำนวน ๒ บท

                  "เมื่อนั้น                        ท้าวพันชุมทรงฟังแล้วนั่งนิ่ง

    ไทยคนนี้ปัญญากล้าจริงจริง         จะละทิ้งช้าไว้ไม่เป็นการ

    จึ่งมีพระราชบัญชา                       แก่พญาเดโชยอดทหาร

    ตัวเรานี้มีบุญญาธิการ                   ไม่มีใครเปรียบปานแต่เดิมมา"

                 (บทละครรำเรื่องพระร่วง, พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)


ฉันหลักษณ์

๑. คณะ - ๑ บท มี ๔ วรรค หรือ ๒ บาท หรือ ๒ คำกลอน, ๑ บาทมี ๒ วรรค

วรรคละ ๖ - ๘ คำ

๒. สัมผัส - ขึ้นอยู่กับจำนวนคำในแต่ละวรรค เช่น หากวรรคหนึ่งมีแปดคำตาม

แผนผัง สัมผัสบังคับคือ คำสุดท้ายของวรรคแรก สัมผัสกับคำที่หนึ่ง สอง สาม สี่หรือคำที่ห้า

ของวรรคที่ ๒, คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้าขของวรรคที่ ๓ คำสุดท้ายของ

วรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำที่หนึ่ง สอง สาม สี่หรือคำที่ห้าของวรรคที่ ๔ เป็นต้น

สัมผัสระหว่างบท - คำสุดท้ายของบทต้นสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรดที่สองของ

บทถัดไป

*หมายเหตุ วรรคแรกมักมีคำขึ้นต้น เช่น เมื่อนั้น บัดนั้น มาจะกล่าวบทไป เป็นต้น หรือขึ้นต้น

อย่างกลอนดอกสร้อย, คำสุดท้ายของบทอาจใช้คำว่า "เอย" หรือ "เทอญ".


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น